เมนู

นั้น อันพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ปลูกสร้างบำรุงรักษา. เชตราชกุมาร
นั้นเป็นเจ้าของเชตวันนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่าเชตวัน. ในพระเชตวัน
นั้น.

แก้อรรถบท อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม นี้ ดังนี้.
คฤหบดีนั้น ชื่อสุทัตตะ โดยบิดามารดาตั้งชื่อให้ อนึ่งท่านได้ให้ก้อนข้าวเป็น
ทานแก่คนอนาถาเป็นประจำ เพราะท่านเป็นคนปราศจากมลทินคือความตระหนี่
และเพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณ มีกรุณาเป็นต้น เหตุท่านเป็นผู้มั่งคั่งด้วย
สมบัติที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับขนานนามว่า อนาถ-
ปิณฑิกะ.
ประเทศที่ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่สัตว์ทั้งหลาย หรือโดย
เฉพาะอย่างยิ่งบรรพชิตทั้งหลายพากันมาอภิรมย์ อธิบายว่า บรรพชิตทั้งหลาย
พากันมาจากที่นั้น ๆ ยินดีอภิรมย์ อยู่อย่างไม่เบื่อหน่าย เพราะพระเชตวันนั้น
งดงามด้วยดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้อ่อนเป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์ของ
เสนาสนะ 5 ประการ มีไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น. อีกประการหนึ่ง
ชื่อว่าอาราม เพราะน้ำท่านที่ไปในที่นั้น ๆ มาภายในของตนแล้วยินดี เพราะ
สมบัติดังกล่าวมาแล้ว . จริงอยู่ อารามนั้น อันท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี
ชื่อจากพระหัตถ์ของเขตพระราชกุมาร ด้วยปูเงิน 18 โกฏิ ให้สร้างเสนาสนะ
เป็นเงิน 18 โกฏิ เสร็จแล้วฉลองวิหารเป็นเงิน 18 โกฏิ มอบถวายพระภิกษุ
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยบริจาคเงิน 54 โกฏิ อย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของ
อนาถปิณฑิกะนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน ระบุถึงเจ้าของตนก่อน คำว่า
อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม ระบุถึงเจ้าของตนหลัง. มีคำทักท้วงว่า ในการ

ระบุถึงพระเชตวันและอารามเหล่านั้น มีประโยชน์อะไร. ขอชี้แจงดังนี้. กล่าว
โดยอธิการก่อน ประโยชน์ก็คือเป็นการทำการกำหนด [ตอบ] คำถามที่ว่าตรัส
ไว้ ณ ที่ไหนอย่างหนึ่ง เป็นการประกอบผู้ที่ต้องการบุญอื่น ๆ ไว้ในการถึง
[ถือเอา] แบบอย่าง อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ ในประโยชน์สองอย่างนั้น ทรัพย์ 18
โกฏิ ที่ได้จากการขายที่ดิน ในการปลูกสร้างปราสาทที่มีประตูและซุ้มและต้น
ไม้ทั้งหลายที่มีค่าหลายโกฏิ เป็นการบริจาคของพระเชตราชกุมาร. ทรัพย์ 54
โกฏิ เป็นการบริจาคของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี. ด้วยการระบุถึงพระเชตวัน
และอารามนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่าผู้ต้องการบุญย่อมทำบุญทั้งหลาย
อย่างนี้ ก็ย่อมประกอบผู้ต้องการบุญอื่น ๆ ไว้ในการถือเอาเป็นแบบอย่าง
โดยประการใด. การประกอบผู้ต้องการบุญไว้ในการถือเอาแบบอย่าง ก็พึง
ทราบว่าเป็นประโยชน์ในข้อนี้โดยประการนั้น.
ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ผิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ใกล้
กรุงสาวัตถีก่อน ท่านพระอานนท์ก็ไม่ควรกล่าวว่า ในพระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถปิณฑิกะ แต่ถ้าประทับอยู่ในพระเชตวันนั้น ก็ไม่ควรกล่าวว่า
ใกล้กรุงสาวัตถี. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่อาจประทับ อยู่ในสถานที่สองแห่ง
ในเวลาเดียวกันได้. ขอชี้แจงดังนี้ ข้าพเจ้ากล่าวมาแล้วมิใช่หรือว่า คำว่า
สาวตฺถิยํ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถ ว่าใกล้ เพราะว่า เปรียบเหมือนฝูงโค
เที่ยวไปอยู่ใกล้แม่น้ำคงคาและยมุนาเป็นต้น เขาก็เรียกว่า เที่ยวไปใกล้แม่น้ำ
คงคา เที่ยวไปใกล้แม่น้ำยมุนา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ อยู่ ณ
พระเขตวันอารามของท่านอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี ก็พึงทราบว่า ประทับ
อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถปิณฑิกะใกล้กรุงสาวัตถี แม้ในพระ-
สูตรนี้ ก็ฉันนั้น. จริงอยู่ คำว่า สาวัตถี ของพระเถระ ก็เพื่อแสดงโคจร-
ตาม คำที่เหลือ ก็เพื่อแสดงสถานที่อยู่ประจำอันเหมาะแก่บรรพชิต.

ในคำทั้งสองนั้น พระเถระแสดงการอนุเคราะห์คฤหัสถ์ของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าด้วยการระบุกรุงสาวัตถี แสดงการอนุเคราะห์บรรพชิตด้วยการ
ระบุพระเชตวันเป็นต้น . อีกนัยหนึ่ง แสดงการงดเว้น อัตตกิลมถานุโยค เพราะ
ถือเอาปัจจัย ด้วยคำต้น แสดงอุบายงดเว้น กามสุขัลลิกานุโยค เพราะ
ละวัตถุกามด้วยคำหลัง. อนึ่ง แสดงความพากเพียรในเทศนาด้วยคำต้น แสดง
ความน้อมไปในวิเวก ด้วยคำหลัง แสดงการเข้าไปด้วยกรุณา ด้วยคำต้น และ
แสดงการเข้าไปด้วยปัญญา ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
น้อมไปในอันจะให้สำเร็จหิตสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น แสดงความที่ทรง
ไม่ติดอยู่ในการบำเพ็ญหิตสุขแก่ผู้อื่น ด้วยคำหลัง. แสดงความอยู่ผาสุก อัน
มีการทรงสละสุขที่ประกอบด้วยธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำต้น แสดงการอยู่ผาสุก
อันมีการประกอบเนือง ๆ ซึ่งอุตตริมนุสสธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำหลังที่แสดง
ความที่ทรงมีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น . แสดงความที่ทรงมี
อุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำหลัง. แสดงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จอุบัติในโลก เจริญเติบใหญ่ในโลก ด้วยคำต้น แสดงความที่โลกฉาบทา
พระองค์ไม่ได้ ด้วยคำหลัง มีอย่างดังกล่าวมานี้เป็นต้น.
คำว่า อถ ใช้ในอรรถว่าไม่ขาดสาย ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต
ใช้ในอรรถว่า แสดงเรื่องอื่น ๆ ด้วยสองคำนั้น พระเถระแสดงว่า เรื่องอื่น ๆ
นี้เกิดขึ้นในพระวิหารของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ขาดสายเลย. เรื่องนั้นคืออะไร
คือเรื่องเทวดาองค์หนึ่งเป็นต้น . ศัพท์ว่า อญฺญตรา องค์หนึ่ง ในคำว่า
อญฺญตรา เทวดาองค์หนึ่งนั้น แสดงความไม่แน่นอน. จริงอยู่ เทวดานั้น
ไม่ปรากฏนามและโคตร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อญฺญตรา. เทวดาก็
คือเทพนั่นแล คำว่า อญฺญตรา นี้ สาธารณะทั่วไปแก่หญิงและชาย แต่
ในที่นี้ผู้ชายเท่านั้น คือเทพบุตร.
ก็คำอะไรเล่า เทพบุตรท่านกล่าวว่า
เทวดา โดยเป็นสาธารณนาม.

แก้ อภิกฺกนุตศัพท์


ในคำว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา นี้ อภิกกันตศัพท์ใช้ในความ
ทั้งหลาย มี สิ้นไป ดี งาม ยินดียิ่ง เป็นต้น.
ในความเหล่านั้น ใช้ในความว่า สิ้นไป ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้
ว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต รตฺติ, นิกฺขนฺโต ปฐโม ยาโม จิรนิสินฺโน
ภิกฺขุสงฺโฆ อุทฺทิสตุ ภนฺเต ภควา ภิกฺขูนํ ปาฏิโมกฺขํ
ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว ปฐมยานล่วงไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งนานแล้ว ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิดพระเจ้าข้า.
ใช้ในความว่า ดี ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อยํ อิเมสํ จตุนฺนํ
ปุคฺคาลานํ อภิกฺกนฺตตโต จ ปณีตตโร จ
นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคล
4 จำพวกนี้.
ใช้ในความว่า งาม ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า
โก เม วนฺทติ ปาทานิ อิทฺธิยา ยสสา ชลํ
อภิกนฺเตน วณฺเณน สพฺพา โอภาสยํ ทิสา.
ใครหนอ รุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ด้วยยศ มีวรรณะงาม
ส่องรัศมีสว่างทั่วทิศ มาไหว้เท้าเรา.

ใช้ในความว่า ยินดียิ่ง ได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า อภิกฺกนฺตํ
โภ โคตม อภิกฺกนฺตํ โภ โคตม ไพเราะจริง ท่านพระโคดม
ไพเราะจริง ท่านพระโคดม.

แต่ในพระสูตรนี้ ใช้ในความว่า สิ้นไป. ท่านอธิบายว่า บทว่า
อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา แปลว่า เมื่อราตรีสิ้นไปแล้ว.
ในคำว่า อภิกนฺตวณฺณา นี้ อภิกกันตศัพท์ในความว่า งาม.
วัณณ
ศัพท์ ใช้ในความว่า ผิว สรรเสริญ พวกตระกูล เหตุ ทรวดทรง
ขนาด รูปายตนะ
เป็นต้น.